เมนู

พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 89. สัปปีติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
ข่มได้แล้ว ฯลฯ รู้กิเลสที่เคยเกิดขึ้น ฯลฯ เห็นแจ้งจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์
ที่ไม่มีปีติและปีติด้วยจิตที่มีปีติโดยเป็นสภาวะไม่เที่ยง ฯลฯ ยินดีเพลิดเพลิน
เพราะปรารภความยินดีเพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้น ราคะที่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึง
เกิดขึ้นเพราะปรารภขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น เพราะ
ปรารภขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น (3)
[152] สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดย
อารัมมณปัจจัย ได้แก่ เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น
(พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิด
ขึ้น (พึงเพิ่มบทที่เป็นมูล) เพราะปรารภขันธ์ที่มีปีติและปีติ ขันธ์ที่มีปีติและปีติจึง
เกิดขึ้น (3)

อธิปติปัจจัย
[153] สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ขันธ์ที่มีปีติจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์โดย
อธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย มี 2
อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่ปีติและจิตตสมุฏฐานรูป
โดยอธิปติปัจจัย (2)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :503 }


พระอภิธรรมปิฎก ธัมมานุโลม [ทุกปัฏฐาน] 89. สัปปีติกทุกะ 7. ปัญหาวาร
สภาวธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติและไม่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ เพราะทําขันธ์ที่มีปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์ปีติและ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (3)
[154] สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่ไม่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย
มี 2 อย่าง คือ อารัมมณาธิปติและสหชาตาธิปติ
อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วยจิตที่ไม่
มีปีติ ฯลฯ พิจารณากุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่ไม่มีปีติ ยินดี
เพลิดเพลิน เพราะทําความยินดีเพลิดเพลินกุศลนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ราคะที่ไม่มีปีติจึงเกิดขึ้น ทิฏฐิจึงเกิดขึ้น บุคคลออกจากฌานที่ไม่มีปีติ ฯลฯ
ออกจากมรรค ฯลฯ ออกจากผลแล้วพิจารณาผลให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น
ด้วยจิตที่ไม่มีปีติ พระอริยะพิจารณานิพพานให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วย
จิตที่ไม่มีปีติ นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค ผลสมาบัติที่ไม่มีปีติ
และปีติโดยอธิปติปัจจัย บุคคลยินดีเพลิดเพลินจักษุ ฯลฯ หทัยวัตถุ ขันธ์ที่ไม่มี
ปีติและปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ด้วยจิตที่ไม่มีปีติ เพราะทําความยินดี
เพลิดเพลินจักษุเป็นต้นนั้นให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ราคะที่ไม่มีปีติจึงเกิดขึ้น
ทิฏฐิจึงเกิดขึ้นเพราะทําขันธ์ที่ไม่มีปีติและปีติให้เป็นอารมณ์อย่างหนักแน่น ขันธ์ที่
ไม่มีปีติและปีติจึงเกิดขึ้น
สหชาตาธิปติ ได้แก่ อธิบดีธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สัมปยุตตขันธ์และ
จิตตสมุฏฐานรูปโดยอธิปติปัจจัย (1)
สภาวธรรมที่ไม่มีปีติเป็นปัจจัยแก่สภาวธรรมที่มีปีติโดยอธิปติปัจจัย มีอย่าง
เดียว คือ อารัมมณาธิปติ ได้แก่ บุคคลให้ทาน สมาทานศีล รักษาอุโบสถด้วย
จิตที่ไม่มีปีติ ฯลฯ (ย่อ) นิพพานเป็นปัจจัยแก่โคตรภู โวทาน มรรค และผลที่มีปีติ

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 43 หน้า :504 }